ผมลงมาที่โถงของโรงแรมตอน 7 โมงเช้าเพื่อพบกับไกด์ที่ได้จัดแจงจองไว้กับทางเอเจนซี่ตั้งแต่อยู่ที่ไทยแล้ว ซึ่งจะว่าไปแล้วในยุดสมัยนี้ที่ข้อมูลข่าวสารมากมาย เราสามารถที่จะหาหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวนครวัดและทำการเดินเที่ยวชมตามคำแนะนำในหนังสือท่องเที่ยวนั้นได้อย่างสบาย ในตอนแรกผมก็วางแผนไว้เช่นนั้น แต่หลังจากคิดไปคิดมาหลายตลบ ผมคิดว่าการที่มีคนมาแนะนำหรือเล่าเรื่องราวให้ฟังน่าจะดีกว่าสำหรับการมาครั้งแรก ด้วยว่าเราจะได้ไม่ต้องมัวแต่ก้มหน้าหาข้อมูลตามหนังสือ แต่มีคนมาเล่าให้เราฟังขณะที่เราสามารถมองไปรอบๆได้ตามใจชอบและการได้เจ้าถิ่นมาแนะนำอาจทำให้เราได้อะไรที่ในหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวไม่ได้บอกไว้ก็ได้ ผมจึงเลือกไกด์นำทางสำหรับการมาเยือนนครวัดครั้งแรกของผม และไกด์คนนั้นมีชื่อว่า ชานนท์
ชานนท์ในชุดเสื้อเชิ้ตแขนยาวสีน้ำตาลอ่อนมีตราไกด์แปะอยู่ที่แขนเสื้อด้านซ้ายและกลัดป้ายชื่อไว้ที่หน้าอกด้านขวา
สวมกางเกงขายาวสีเข้มกล่าวแนะนำตัวและทักทายผมด้วยภาษาอังกฤษที่ลื่นไหลและเป็นกันเอง
ผมจองไกด์ผ่านทางเวบเอเจนซี่ซึ่งติดต่อผ่านทางอีเมลเป็นภาษาอังกฤษ
แต่ผมเพิ่งมารู้ภายหลังขณะเยี่ยมชมว่านอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีภาษาอื่นเป็นตัวเลือกให้อีก
ทั้ง ไทย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
ชานนท์บอกผมว่าไกด์แต่ละคนจะมีใบอนุญาตบอกไว้ว่าไกด์คนนี้สำหรับภาษาอะไร
ใบอนุญาตของชานนท์เป็นไกด์สำหรับภาษาอังกฤษ
แต่ชานนท์สามารถพูดภาษาไทยได้นิดหน่อยเพราะเคยเรียนมา
นั่นหมายความว่าอย่างน้อยชานนท์พูดได้ 3 ภาษาคือ เขมร อังกฤษ
ไทย ผมถามชานนท์ว่าแล้วทำไมไม่สอบเป็นไกด์ภาษาไทยไว้ด้วยล่ะ
ชานนท์เล่าว่าช่วงที่เขาเรียนภาษาไทย เขาก็มักจะฝึกพูดภาษาไทยตามวิธีการฝึกภาษาที่ดีคือ
การใช้บ่อยๆ ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องใช้เราถึงจะพัฒนา
และชานนท์ก็ได้มีโอกาสฝึกใช้ภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบตอนที่เขามาเที่ยวที่ประตูน้ำ
ชานนท์เล่าว่าเขาพูดภาษาไทยถามราคาของกับ แม่ค้า
แต่สำเนียงของเขาคงเป็นที่น่าขบขันของกลุ่มแม่ค้า
เมื่อเขาถามอะไรไปจึงได้รับแต่เสียงหัวเราะเป็นคำตอบ ไม่มีใครตอบคำถามของชานนท์แม้ชานนท์จะพยายามเท่าไหร่
นับตั้งแต่นั้นชานนท์จึงเลิกพูดภาษาไทย
ผมขึ้นรถของชานนท์
(การจองไกด์ที่นี่จะรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่นรถที่ใช้ในการเดินทาง น้ำ
เปล่า ผ้าเย็นยกเว้นค่าเข้าและค่าอาหารที่เราต้องจ่ายเอง) มาที่ศูนย์ท่องเที่ยวเพื่อซื้อตั๋วเข้าเยี่ยมชม
ซึ่งแบ่งเป็นจำนวนวันในการเยี่ยมชม ผมจึงซื้อตั๋วเข้าเยี่ยมชมสำหรับวันเดียวมา 2 ใบในราคาใบละ 20$ โดยบนตั๋วของแต่ละคนนั้นจะมีรูปถ่ายของเราติดเอาไว้ด้วย
และเราต้องเก็บตั๋วไว้นี้ไว้ให้ดี
เนื่องจากเราต้องควักตั๋วใบนี้ออกมาให้ดูทุกครั้งที่เข้าชมโบราณสถานแต่ละแห่ง
หากตั๋วเสียหายหรือชำรุดจนมองไม่เห็นรูปบนบัตร เราต้องซื้อตั๋วใบใหม่แทน
ราว
7.30 น.
เราก็มาถึงนครวัด
ชานนท์จอดรถไว้ที่ลานว่างใกล้ๆตามใจชอบ จากนั้นพาเราเดินข้ามถนนแบบคนท้องถิ่น
คือเดินตัดสามแยกมาตรงกลางดุ่มๆเลย แม้จะมีรถวิ่งสวนไปมาชานนท์ก็หาได้สนใจไม่
ผมเองถือคติที่ว่าเข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม จึงข้ามถนนติดๆกับชานนท์
เรียกได้ว่าถ้าชานนท์ไม่โดนรถชนผมก็ไม่โดนเช่นกัน หลังจากข้ามถนนมาได้เราก็มาถึงขั้นบันไดแรกของนครวัดที่ซึ่งต้อนรับเหล่านักท่องเที่ยวด้วยสิงห์และนาคอยู่
2 ฟากทางเดิน นอกจากทั้ง 2 จะมีหน้าที่เฝ้ารักษานครวัดแล้วยังมีความหมายแฝงอย่างอื่นด้วย
“สิงห์เป็นตัวแทนถึงเพศหญิง
ส่วนนาคเป็นตัวแทนถึงเพศชาย
เมื่อทั้งสองอยู่ด้วยกันจึงเกิดการรักษาสมดุลของพลังขึ้น”
“แปลว่าสิงห์ทุกตัวในที่นี้เป็นตัวเมียหรอ”ผมถาม
“ไม่ใช่ตัวเมีย
แต่แทนถึงพลังของเพศหญิง” ชานนท์ตอบ
แม้ผมจะไม่ค่อยเข้าใจความหมายนักแต่ก็เชื่อตามที่ชานนท์บอก
เพราะรูปสลักสิงห์หินเองยังมีไข่อยู่เลย จากนั้นเราจึงก้าวขึ้นสู่ทางเดินแรก
ความรู้สึกแรกที่เห็นเลยคือ
โว้ว (Woah) ซึ่งเป็นขั้นกว่าของ ว้าว (Wow) ภาพทางเดินยาวที่กว้างขนาดถนน 4 เลน
ล้อมรอบไปด้วยน้ำ ทอดยาวเหยียดไปจนถึงซุ้มประตูแรกของนครวัด
ผมก้มลงมองที่พื้นหินที่ประกอบไปด้วยหินรูปทรงต่างๆอัดแน่นกันไม่เป็นระเบียบอย่างเรียบร้อยอยู่บนพื้น
ผมสังเกตเห็นว่ากองหินตรงกลางที่แบ่งพื้นทางด้านซ้ายและขวาออกจากกัน
โดยพื้นทางด้านซ้ายดูเป็นซากปรักหักพักมากกว่าพื้นทางด้านขวาที่ดูเนียนเรียบ
“ฝั่งขวานี้ทางเยอรมันออกทุนมาบูรณะให้” ชานนท์บอกผม
“แล้วฝั่งซ้ายล่ะ” ผมถามและชี้ไปทางกองหินที่เป็นหลุมอยุ่ข้างๆ
“ฝั่งนั้นเราเก็บไว้ให้ดูว่า
พื้นดั้งเดิมมันมีสภาพเป็นอย่างไร” ชานนท์ตอบ
ผมไม่เข้าใจนักว่าทำไมเขาถึงไม่ซ่อมให้เสร็จไปทั้ง
2 ด้านพร้อมกัน แต่ผมคิดว่าชานนท์ไม่ได้แถ
บางทีเขาอาจจะซ่อมให้เสร็จทีละด้านก็ได้
หรือบางทีการปล่อยไว้แบบนี้อาจทำให้เราระมัดระวังในการใช้งานมากขึ้นก็ได้
ชานนท์ชี้ตัวเลขที่สลักลงบนหินให้ผมดูว่า
“ตัวเลขนี้สลักไว้เพื่อบอกถึงตำแหน่งที่พบ
เมื่อทำการยกไปซ่อมแซมเราจะนำมันกลับมาวางไว้ที่เดิมที่เราเจอในตอนแรก”
“และที่ๆเรากำลังเดินอยู่นี้” ชานนท์ชี้ไปที่พื้นหิน
“เปรียบเหมือนกับสะพานที่จะนำเราไปสู่อีกจักรวาลหนึ่ง
โดยแม่น้ำที่ล้อมรอบเป็นตัวแทนเหมือนจักรวาลที่ล้อมรอบเราอยู่
เราจะเดินผ่านจักรวาลแต่ละชั้นไปเรื่อยๆ จนถึงชั้นในสุดที่เปรียบเหมือนยอดเขาที่สูงสุด”
ผมเข้าใจว่าชานนท์หมายถึงเขาไกรลาส
"นครวัดสร้างขึ้นตามอิทธิพลของศาสนาฮินดู คือการนับถือพระเจ้า ดังนั้นการสร้างนครวัดจึงมีแนวคิดเหมือนการสร้างที่อยู่ของพระเจ้า และใช้สำหรับประกอบพิธีทางศาสนาสำหรับกษัตริย์
ผมเดินไปตามทางเดินจนถึงประตูใหญ่แห่งหนึ่ง ที่ซึ่งตรงธรณีประตูและทางเดินในส่วนอื่นๆเขาจะทำบันไดไม้คร่อมไว้ แต่ประตูในส่วนนี้ไม่มีทางเดินไม้ค่อม ผมเองไม่แน่ใจนักว่าในปราสาทหินอย่างนี้ เขาจะถือเรื่องการเหยียบธรณีประตูหรือไม่ จึงพยายามก้าวข้ามซึ่งก็เป็นไปอย่างทุลักทุเลพอควร เนื่องด้วยส่วนที่เป็นธรณีประตูนั้นทำจากแผ่นหินที่มีขนาดกว้างประมาณ 50 ซม. ชานนท์เห็นผมข้ามแบบนั้นจึงทำท่าประหลาดใจ ผมจึงถามชานนท์ว่า
"ที่นี่ปกติแล้วเขาข้ามธรณีประตูกันหรือเปล่าครับ"
ชานนท์ตอบผมว่า "ผมไม่รู้ว่าที่ไทยเขานับถืออะไรยังไงนะ แต่ที่นี่ธรณีประตูเปรียบเหมือนสะพานเชื่อมโลก การก้าวขึ้นสู่สะพานก็คือการเดินไปสู่อีกโลกหนึ่ง หากเราไม่ข้ามสะพานการที่เราข้ามไปก็ไม่มีความหมายอะไร"
นอกจากนั้นชานนท์ยังชี้ให้ผมเห็นถึงว่าที่บริเวณส่วนที่จะเป็นธรณีประตูนั้นมีขนาดกว้างกว่าปกติ ก็เพื่อให้คนที่มาเหยียบข้ามกันนั่นเอง ผมฟังชานนท์พูดดังนั้นจึงไม่พลาดที่จะเหยียบไปทั่วขั้นบันไดของปราสาทหินนี้
ชานนท์เล่าให้ผมฟังถึงประวัติความเป็นมาของนครวัด ผมฟังชานนท์เล่าไปพลาง เอามือลูบไปตามความสากของแผ่นหินไปพลาง บางส่วนเป็นรูปสลักและรูปปั้นที่ทำจากหินทราย และเป็นที่น่าเศร้าที่รูปปั้นต่างๆก็ประสบชะตากรรมเดียวกับรูปปั้นพระที่ไทย นั่นคือการโดนตัดเศียรไปขาย
"รูปปั้นทั้งหลายถูกทำลายโดนบรรดาคนโลภ" ชานนท์เล่าให้ผมฟัง
"เขาเอาไปขายในตลาดมืด แม้สมัยก่อนโบราณสถานทั้งหลายจะถูกดูแลโดยรัฐบาลเอง แต่บรรดาโบราณวัตถุเหล่านี้ก็ยังสูบหายอยู่เรื่อย และน่าแปลกที่คนในรัฐบาลที่ดูแลเรื่องนี้กลับรวยขึ้นๆ มีรถแพงๆขับและเป็นเจ้าของโรงแรมหลายแห่งในเสียมเรียบนี้" ชานนท์บอกผม
"โอ มันแย่จริงๆนะแบบนี้" ผมตอบพลางนึกไปถึงเหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เกิดขึ้นที่ไทย
"ไม่แน่นะ โรงแรมที่คุณพักอยู่พวกเขาเหล่านั้นอาจเป็นเจ้าของก็ได้" ชานนท์ทิ้งท้าย
บางทีผมหลังจากจบทริปวันนี้ควรจะกลับไปเช็กข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมที่ผมพักสักหน่อยนึง
"แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่โบราณสถานจะถูกทำลายด้วยความโลภ บางครั้งความไม่รู้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง" ชานนท์เกริ่น
"ความไม่รู้" ผมย้ำ
"ใช่ครับ สมัยก่อนที่จะมีการบูรณะและดูแลอย่างเป็นทางการ โบราณสถานหลายแห่งถูกชาวบ้านรื้อถอนไป" ชานนท์เล่าต่อ
ผมนึกภาพในใจว่าเห็นกลุ่มชาวบ้านพากันยื้อแย่งซากโบราณสถานแต่ก็นึกไม่ออกว่าจะเอาไปทำอะไรได้ ก็มันมีแต่กองหินนี่
"แล้วเขาเอาไปทำอะไรกันหรอครับ" ผมถามความสงสัยนี้กับชานนท์
ชานนท์ชี้ไปที่หินก้อนนึงแล้วบอกกับผมว่า
"เขาเอาไปทำครัวกัน"
ผมนิ่งไปแวบนึงพลางคิดว่าชานนท์กำลังอำผมอยุ่หรือเปล่า แต่เมื่อชานนท์เล่าให้ฟังว่ามันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยก่อน ผมจึงพอจะปะติดปะต่อภาพได้ว่า ชาวบ้านขนหินเอาไปทำก้อนเส้า (หินที่ใช้รองเตาแบบเวลาเราหุงข้าวสนามแบบลูกเสือน่ะ) นั่นเอง
จริงแท้และแน่นอน นี่คือความจริงของชีวิต ผมไม่โทษกล่าวกลุ่มชาวบ้านในสมัยนั้นแม้แต่นิด การมีอยู่ของโบราณสถานในสมัยนี้นับเป็นคุณค่าความจิตใจและความงามของศิลปะ แต่เมื่อชาวบ้านที่ยังท้องหิวคงไม่สามารถเข้าใจถึงประโยชน์ของความงามในกองหินเหล่านี้ได้ จึงหยิบไปด้วยไม่รู้
และเมื่อไม่รู้ย่อมไม่ผิด อย่างไรชาวบ้านก็ได้ใช้ประโยชน์จากตันนครวัดนี้แล้วเช่นกัน ไม่ได้ประโยชน์ด้านศิลปะก็ด้วยประโยชน์ใช้สอยแทน
ชานนท์เล่าว่าในสมัยก่อนชาวบ้านนับถือธาตุ (Elementism) ดิน น้ำ ลม ไฟ ต่อจากนั้นจึงถึงยุคของศาสนาฮินดู (Hindunism) ซึ่งนครวัดเองก็สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูนี่เอง แต่นครวัดก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นสำหรับศาสนาฮินดูโดยเฉพาะ ภายหลังเมื่อมีการเข้ามาของศาสนาพุทธ ตัวนครวัดเองก็ได้ปรับเปลี่ยนการใช้งานเพื่อรองรับศาสนาพุทธเช่นกัน
"It was Elementism, Hindunism and then Buddhism" ชานนท์สรุป
“So what’s now?” ด้วยความสงสัยผมจึงถามชานนท์ว่าแล้วตอนนี้ที่นี่เขานับถือศาสนาอะไรกันเป็นหลัก
ผมเดินไปตามทางเดินจนถึงประตูใหญ่แห่งหนึ่ง ที่ซึ่งตรงธรณีประตูและทางเดินในส่วนอื่นๆเขาจะทำบันไดไม้คร่อมไว้ แต่ประตูในส่วนนี้ไม่มีทางเดินไม้ค่อม ผมเองไม่แน่ใจนักว่าในปราสาทหินอย่างนี้ เขาจะถือเรื่องการเหยียบธรณีประตูหรือไม่ จึงพยายามก้าวข้ามซึ่งก็เป็นไปอย่างทุลักทุเลพอควร เนื่องด้วยส่วนที่เป็นธรณีประตูนั้นทำจากแผ่นหินที่มีขนาดกว้างประมาณ 50 ซม. ชานนท์เห็นผมข้ามแบบนั้นจึงทำท่าประหลาดใจ ผมจึงถามชานนท์ว่า
"ที่นี่ปกติแล้วเขาข้ามธรณีประตูกันหรือเปล่าครับ"
ชานนท์ตอบผมว่า "ผมไม่รู้ว่าที่ไทยเขานับถืออะไรยังไงนะ แต่ที่นี่ธรณีประตูเปรียบเหมือนสะพานเชื่อมโลก การก้าวขึ้นสู่สะพานก็คือการเดินไปสู่อีกโลกหนึ่ง หากเราไม่ข้ามสะพานการที่เราข้ามไปก็ไม่มีความหมายอะไร"
นอกจากนั้นชานนท์ยังชี้ให้ผมเห็นถึงว่าที่บริเวณส่วนที่จะเป็นธรณีประตูนั้นมีขนาดกว้างกว่าปกติ ก็เพื่อให้คนที่มาเหยียบข้ามกันนั่นเอง ผมฟังชานนท์พูดดังนั้นจึงไม่พลาดที่จะเหยียบไปทั่วขั้นบันไดของปราสาทหินนี้
ชานนท์เล่าให้ผมฟังถึงประวัติความเป็นมาของนครวัด ผมฟังชานนท์เล่าไปพลาง เอามือลูบไปตามความสากของแผ่นหินไปพลาง บางส่วนเป็นรูปสลักและรูปปั้นที่ทำจากหินทราย และเป็นที่น่าเศร้าที่รูปปั้นต่างๆก็ประสบชะตากรรมเดียวกับรูปปั้นพระที่ไทย นั่นคือการโดนตัดเศียรไปขาย
"รูปปั้นทั้งหลายถูกทำลายโดนบรรดาคนโลภ" ชานนท์เล่าให้ผมฟัง
"เขาเอาไปขายในตลาดมืด แม้สมัยก่อนโบราณสถานทั้งหลายจะถูกดูแลโดยรัฐบาลเอง แต่บรรดาโบราณวัตถุเหล่านี้ก็ยังสูบหายอยู่เรื่อย และน่าแปลกที่คนในรัฐบาลที่ดูแลเรื่องนี้กลับรวยขึ้นๆ มีรถแพงๆขับและเป็นเจ้าของโรงแรมหลายแห่งในเสียมเรียบนี้" ชานนท์บอกผม
"โอ มันแย่จริงๆนะแบบนี้" ผมตอบพลางนึกไปถึงเหตุการณ์ทำนองเดียวกันที่เกิดขึ้นที่ไทย
"ไม่แน่นะ โรงแรมที่คุณพักอยู่พวกเขาเหล่านั้นอาจเป็นเจ้าของก็ได้" ชานนท์ทิ้งท้าย
บางทีผมหลังจากจบทริปวันนี้ควรจะกลับไปเช็กข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมที่ผมพักสักหน่อยนึง
"แต่ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่โบราณสถานจะถูกทำลายด้วยความโลภ บางครั้งความไม่รู้ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง" ชานนท์เกริ่น
"ความไม่รู้" ผมย้ำ
"ใช่ครับ สมัยก่อนที่จะมีการบูรณะและดูแลอย่างเป็นทางการ โบราณสถานหลายแห่งถูกชาวบ้านรื้อถอนไป" ชานนท์เล่าต่อ
ผมนึกภาพในใจว่าเห็นกลุ่มชาวบ้านพากันยื้อแย่งซากโบราณสถานแต่ก็นึกไม่ออกว่าจะเอาไปทำอะไรได้ ก็มันมีแต่กองหินนี่
"แล้วเขาเอาไปทำอะไรกันหรอครับ" ผมถามความสงสัยนี้กับชานนท์
ชานนท์ชี้ไปที่หินก้อนนึงแล้วบอกกับผมว่า
"เขาเอาไปทำครัวกัน"
ผมนิ่งไปแวบนึงพลางคิดว่าชานนท์กำลังอำผมอยุ่หรือเปล่า แต่เมื่อชานนท์เล่าให้ฟังว่ามันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยก่อน ผมจึงพอจะปะติดปะต่อภาพได้ว่า ชาวบ้านขนหินเอาไปทำก้อนเส้า (หินที่ใช้รองเตาแบบเวลาเราหุงข้าวสนามแบบลูกเสือน่ะ) นั่นเอง
จริงแท้และแน่นอน นี่คือความจริงของชีวิต ผมไม่โทษกล่าวกลุ่มชาวบ้านในสมัยนั้นแม้แต่นิด การมีอยู่ของโบราณสถานในสมัยนี้นับเป็นคุณค่าความจิตใจและความงามของศิลปะ แต่เมื่อชาวบ้านที่ยังท้องหิวคงไม่สามารถเข้าใจถึงประโยชน์ของความงามในกองหินเหล่านี้ได้ จึงหยิบไปด้วยไม่รู้
และเมื่อไม่รู้ย่อมไม่ผิด อย่างไรชาวบ้านก็ได้ใช้ประโยชน์จากตันนครวัดนี้แล้วเช่นกัน ไม่ได้ประโยชน์ด้านศิลปะก็ด้วยประโยชน์ใช้สอยแทน
ชานนท์เล่าว่าในสมัยก่อนชาวบ้านนับถือธาตุ (Elementism) ดิน น้ำ ลม ไฟ ต่อจากนั้นจึงถึงยุคของศาสนาฮินดู (Hindunism) ซึ่งนครวัดเองก็สร้างเพื่อเป็นศาสนสถานของศาสนาฮินดูนี่เอง แต่นครวัดก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นสำหรับศาสนาฮินดูโดยเฉพาะ ภายหลังเมื่อมีการเข้ามาของศาสนาพุทธ ตัวนครวัดเองก็ได้ปรับเปลี่ยนการใช้งานเพื่อรองรับศาสนาพุทธเช่นกัน
"It was Elementism, Hindunism and then Buddhism" ชานนท์สรุป
“So what’s now?” ด้วยความสงสัยผมจึงถามชานนท์ว่าแล้วตอนนี้ที่นี่เขานับถือศาสนาอะไรกันเป็นหลัก
ชานนท์ยิ้มกริ่มเหมือนรอให้ผมถามคำถามนี้อยู่แล้วก่อนจะตอบว่า
“Now it’s Tourism”
No comments:
Post a Comment